หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาบริหารศาสตร์  หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2562

Doctor of  Philosophy Program in Administrative Science 

ปรัชญาหลักสูตร

“สร้างดุษฎีบัณฑิตที่มีความรู้ความสามารถ โดยเน้นการวิจัย การสร้าง และค้นคว้าองค์ความรู้ใหม่ในด้านการบริหาร ที่มุ่งการจัดการให้มีประสิทธิภาพ เพื่อประโยชน์ในการนำความรู้ ไปพัฒนาองค์การและประเทศชาติ ตอบสนองต่อแนวคิดเศรษฐศาสตร์สร้างสรรค์ ยุคใหม่ รองรับนโยบายการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติที่ให้ความสำคัญต่อการสร้างมูลค่าเพิ่มจากองค์ความรู้ใหม่ โดยการบูรณาการและตอบสนองความต้องการของบุคลากรและองค์กรในภาคส่วนต่างๆ รวมทั้งเป็นการลงทุนในทรัพยากรมนุษย์ของประเทศให้มีความรู้ในเชิงบูรณาการที่สามารถสร้างองค์ความรู้ใหม่ โดยการนำแนวคิดทางการบริหารจัดการองค์การไปใช้ในการจัดการในสถานการณ์จริง ท่ามกลางการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วของเศรษฐกิจ สังคม การเมือง สิ่งแวดล้อม และเทคโนโลยี จึงมีความต้องการทรัพยากรมนุษย์ที่มีความรู้ความสามารถด้านการวิจัย เพื่อสร้างองค์ความรู้ใหม่และบูรณาการองค์ความรู้เพื่อนำไปใช้ในการบริหารองค์การที่มีคุณภาพ พร้อมทั้งเป็นผู้ที่มีคุณธรรมและจริยธรรม เพื่อเป็นทรัพยากรมนุษย์ที่เป็นกำลังสำคัญในการพัฒนาประเทศและภูมิภาค”  

Produce Ph.D. graduates who possess knowledge and skills on research and creation of new set of knowledge regarding effective administration for further usage for development of economy and country in responding to the concept of creative economy in the new era which supports national economic and social development policy through knowledge integration, joint organizational collaboration, and human resource investment. The obtained knowledge could be applied to real and rapid changing situation.


  1. ชื่อหลักสูตร

ภาษาไทย        :  หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต  สาขาวิชาบริหารศาสตร์

ภาษาอังกฤษ     :  Doctor of  Philosophy Program in Administrative Science

 

  1. ชื่อปริญญาและสาขาวิชา

ชื่อเต็ม (ภาษาไทย)        :  ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต (บริหารศาสตร์)     

ชื่อย่อ  (ภาษาไทย)        :  ปร.ด. (บริหารศาสตร์)

ชื่อเต็ม (ภาษาอังกฤษ)     :  Doctor of Philosophy (Administrative Science)

ชื่อย่อ  (ภาษาอังกฤษ)     :  Ph.D. (Administrative Science)

 

  1. วิชาเอก บริหารศาสตร์

มีจุดเน้นของการศึกษาค้นคว้าวิจัยดุษฎีนิพนธ์เพื่อพัฒนาองค์ความรู้ด้านการบริหารในประเด็นด้าน การบริหารอุตสาหกรรมบริการ (Services Industry Administration) การบริหารองค์การภาครัฐและเอกชน (Public and Private Organization Administration)    การบริหารการพัฒนาสุขภาวะ (Health Related Development Administration) การบริหารกิจการชุมชนท้องถิ่น (Local Community Administration) การบริหารเทคโนโลยี (Technology Administration) และการบริหารการเกษตร ทรัพยากร และสิ่งแวดล้อม (Agriculture, Resources and Environmental Administration)

 

  1. จำนวนหน่วยกิตที่เรียนตลอดหลักสูตร
    • หลักสูตร แบบ 1.1         จำนวน 48 หน่วยกิต  
    • หลักสูตร แบบ 2.1         จำนวน 48 หน่วยกิต

 

  1. รูปแบบของหลักสูตร
    • รูปแบบ  หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต แบบ 1.1 และ 2.1 มีระยะเวลาของการศึกษาตลอดหลักสูตร 3 ปี หรือสำเร็จการศึกษาได้ไม่ก่อน 6 ภาคการศึกษา และให้ศึกษาได้ไม่เกิน 6 ปีการศึกษา (A three to six year (3-6 yr) course program. Offers both coursework and non-coursework program)
    • ภาษาที่ใช้ หลักสูตรจัดการศึกษาเป็นภาษาไทย และ/หรือภาษาอังกฤษ
    • การรับเข้าศึกษา รับนักศึกษาทั้งนักศึกษาไทยและนักศึกษาต่างชาติ
    • ความร่วมมือกับสถาบันอื่น  เป็นหลักสูตรเฉพาะของมหาวิทยาลัยที่จัดการเรียนการสอนโดยตรง
    • การให้ปริญญากับผู้สำเร็จการศึกษา  ให้ปริญญาเพียงสาขาวิชาเดียว
    • หลักสูตรนี้เป็นหลักสูตรสหวิทยาการ

 

    • สถานภาพของหลักสูตร และการพิจารณาอนุมัติ/เห็นชอบหลักสูตร
    • หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2562 ปรับปรุงจากหลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาบริหารศาสตร์ พ.ศ. 2557
    • กำหนดการเปิดสอน ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2562
    • สภามหาวิทยาลัยแม่โจ้ ให้ความเห็นชอบหลักสูตร ในการประชุม ครั้งที่ 10/2561       เมื่อวันที่ 24 พฤศจิกายน 2561

 

  1. ความพร้อมในการเผยแพร่หลักสูตรที่มีคุณภาพและมาตรฐาน

      หลักสูตรมีความพร้อมเผยแพร่คุณภาพและมาตรฐานคุณวุฒิอุดมศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2552 ในปีการศึกษา 2562

 

   8. อาชีพที่สามารถประกอบอาชีพได้หลังสำเร็จการศึกษา

       - อาจารย์ บุคลากรทางวิชาการและวิจัยในสถาบันการศึกษา

       - นักวิชาการ นักวิจัย

       - นักบริหาร/ผู้บริหารหน่วยงาน นักการเมือง

 

  1. ชื่อ ตำแหน่ง และคุณวุฒิการศึกษาของอาจารย์ประจำหลักสูตร/ผู้รับผิดชอบหลักสูตร

ที่

ตำแหน่งทางวิชาการ

ชื่อ - สกุล

คุณวุฒิ

สาขาวิชา

สำเร็จการศึกษาจาก

ปี

พ.ศ.

1

รองศาสตราจารย์

 

นายเฉลิมชัย  ปัญญาดี

ศษ.ด.

ประชากรศึกษา

มหาวิทยาลัยมหิดล

2537

ศษ.ม.

ประชากรศึกษา

มหาวิทยาลัยมหิดล

2531

วท.บ.

จิตวิทยา

มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

2527

ประกาศนียบัตรชั้นสูง

การบริหารภาครัฐ-เอกชน และกฎหมายมหาชน

สถาบันพระปกเกล้า

2551

2

ผู้ช่วยศาสตราจารย์

 

นางสาว

ปรารถนา

ยศสุข

Ph.D.

Rural Sociology

University of Missouri-Columbia, U.S.A.

2542

วท.ม.

ส่งเสริมการเกษตร

มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

2529

วท.บ.

เกษตรศาสตร์

มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

2527

ประกาศนียบัตรชั้นสูง

การบริหารภาครัฐ-เอกชน และกฎหมายมหาชน

สถาบันพระปกเกล้า

2553

3

ผู้ช่วยศาสตราจารย์

 

นางบงกชมาศ  เอกเอี่ยม

Ph.D.

Sociology

Mississippi State University, U.S.A.

2544

สม.ม.

สังคมวิทยา

มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

2532

วท.บ.

จิตวิทยา

มหาวิทยาลัยศรีนครินทร

วิโรฒ ประสานมิตร

2528

 

  1. สถานที่จัดการเรียนการสอน  วิทยาลัยบริหารศาสตร์  มหาวิทยาลัยแม่โจ้ จังหวัดเชียงใหม่

 11. แสดงแผนการศึกษา

  • หลักสูตร แบบ 1.1  

ปีที่ 1 ภาคการศึกษาที่  1

รหัสวิชา

ชื่อวิชา

หน่วยกิต

ทฤษฎี

ปฏิบัติ

ศึกษาด้วยตนเอง

บศ 701

การวิจัยเชิงปริมาณทางการบริหารขั้นสูง

(3)

(2)

(2)

(5)

บศ 791

สัมมนา 1

(1)

(0)

(2)

(1)

บศ 891

ดุษฎีนิพนธ์ 1

6

0

18

0

รวม

6

0

18

0

 

ปีที่ 1 ภาคการศึกษาที่  2

รหัสวิชา

ชื่อวิชา

หน่วยกิต

ทฤษฎี

ปฏิบัติ

ศึกษาด้วยตนเอง

บศ 792

สัมมนา 2

(1)

(0)

(2)

(1)

บศ 892

ดุษฎีนิพนธ์ 2

6

0

18

0

รวม

6

0

18

0

 

ปีที่ 2 ภาคการศึกษาที่  1

รหัสวิชา

ชื่อวิชา

หน่วยกิต

ทฤษฎี

ปฏิบัติ

ศึกษาด้วยตนเอง

บศ 793

สัมมนา 3

(1)

(0)

(2)

(1)

บศ 893

ดุษฎีนิพนธ์ 3

6

0

18

0

รวม

6

0

18

0

 

ปีที่ 2 ภาคการศึกษาที่  2

รหัสวิชา

ชื่อวิชา

หน่วยกิต

ทฤษฎี

ปฏิบัติ

ศึกษาด้วยตนเอง

บศ 794

สัมมนา 4

(1)

(0)

(2)

(1)

บศ 894

ดุษฎีนิพนธ์ 4

6

0

18

0

รวม

6

0

18

0

  

ปีที่ 3 ภาคการศึกษาที่  1

รหัสวิชา

ชื่อวิชา

หน่วยกิต

ทฤษฎี

ปฏิบัติ

ศึกษาด้วยตนเอง

บศ 795

สัมมนา 5

(1)

(0)

(2)

(1)

บศ 895

ดุษฎีนิพนธ์ 5

12

0

36

0

รวม

12

0

36

0

 

ปีที่ 3 ภาคการศึกษาที่  2

รหัสวิชา

ชื่อวิชา

หน่วยกิต

ทฤษฎี

ปฏิบัติ

ศึกษาด้วยตนเอง

บศ 796

สัมมนา 6

(1)

(0)

(2)

(1)

บศ 896

ดุษฎีนิพนธ์ 6

12

0

36

0

รวม

12

0

36

0

 หมายเหตุ : (   )  เป็นรายวิชาที่ไม่นับหน่วยกิตและมีการประเมินผลการเรียนเป็นระบบ S และ U

  

  • หลักสูตร แบบ 2.1 

ปีที่ 1 ภาคการศึกษาที่  1

รหัสวิชา

ชื่อวิชา

หน่วยกิต

ทฤษฎี

ปฏิบัติ

ศึกษาด้วยตนเอง

บศ 701

การวิจัยเชิงปริมาณทางการบริหารขั้นสูง

(3)

(2)

(2)

(5)

บศ 791

สัมมนา 1

(1)

(0)

(2)

(1)

บศ 711

ทฤษฎีและแนวคิดการบริหารและองค์การ

3

2

2

5

บศ 713

การวิเคราะห์สังคมเพื่อการบริหาร

3

2

2

5

รวม

6

4

4

10

 

ปีที่ 1 ภาคการศึกษาที่  2

รหัสวิชา

ชื่อวิชา

หน่วยกิต

ทฤษฎี

ปฏิบัติ

ศึกษาด้วยตนเอง

บศ 792

สัมมนา 2

(1)

(0)

(2)

(1)

บศ 712

การวิจัยเชิงคุณภาพทางการบริหารขั้นสูง

3

2

2

5

บศ 891

ดุษฎีนิพนธ์ 1

6

0

18

0

รวม

9

2

20

5

 

ปีที่ 2 ภาคการศึกษาที่  1

รหัสวิชา

ชื่อวิชา

หน่วยกิต

ทฤษฎี

ปฏิบัติ

ศึกษาด้วยตนเอง

บศ 793

สัมมนา 3

(1)

(0)

(2)

(1)

บศ 714

การวิเคราะห์องค์การและการบริหาร

3

2

2

5

บศ 892

ดุษฎีนิพนธ์ 2

6

0

18

0

รวม

9

2

20

5

  

ปีที่ 2 ภาคการศึกษาที่  2

รหัสวิชา

ชื่อวิชา

หน่วยกิต

ทฤษฎี

ปฏิบัติ

ศึกษาด้วยตนเอง

บศ 794

สัมมนา 4

(1)

(0)

(2)

(1)

บศ 893

ดุษฎีนิพนธ์ 3

6

0

18

0

รวม

6

0

18

0

 

ปีที่ 3 ภาคการศึกษาที่  1

รหัสวิชา

ชื่อวิชา

หน่วยกิต

ทฤษฎี

ปฏิบัติ

ศึกษาด้วยตนเอง

บศ 795

สัมมนา 5

(1)

(0)

(2)

(1)

บศ 894

ดุษฎีนิพนธ์ 4

6

0

18

0

รวม

6

0

18

0

 

ปีที่ 3 ภาคการศึกษาที่  2

รหัสวิชา

ชื่อวิชา

หน่วยกิต

ทฤษฎี

ปฏิบัติ

ศึกษาด้วยตนเอง

บศ 796

สัมมนา 6

(1)

(0)

(2)

(1)

บศ 895

ดุษฎีนิพนธ์ 5

12

0

36

0

รวม

12

0

36

0

 หมายเหตุ : (   )  เป็นรายวิชาที่ไม่นับหน่วยกิตและมีการประเมินผลการเรียนเป็นระบบ S และ U

การสอบวัดคุณสมบัติ

          การสอบวัดคุณสมบัติ (Qualifying Examination) เป็นการสอบเพื่อประเมินความพร้อมและความสามารถของนักศึกษาว่ามีพื้นฐานความรู้เพียงพอที่จะศึกษา

และทำดุษฎีนิพนธ์ได้ โดยนักศึกษาจะต้องศึกษาในสาขาวิชานั้นมาแล้วไม่น้อยกว่า 1 ภาคการศึกษาปกติ และในภาคการศึกษาที่สมัครสอบจะต้องลงทะเบียนเรียนอยู่ด้วย

ทั้งนี้จะต้องสอบให้ผ่านภายใน 4 ภาคการศึกษาปกตินับตั้งแต่ภาคการศึกษาแรกที่นักศึกษาลงทะเบียนเรียน โดยนับรวมภาคการศึกษาที่ได้รับอนุมัติให้ลาพักการศึกษา

มิฉะนั้นจะพ้นสภาพจากการเป็นนักศึกษา

12.องค์ประกอบเกี่ยวกับการทำวิจัยในประเทศ ต่างประเทศ และการแลกเปลี่ยนนักศึกษา

มีการศึกษาดูงาน การเข้าเยี่ยมชม การเรียนรู้ประสบการณ์เพื่อพัฒนาโจทย์วิจัยและองค์ความรู้ ในองค์กรที่เป็นแบบอย่าง หรือองค์กรที่เกี่ยวข้องในภาครัฐ

และภาคเอกชน ทั้งในและต่างประเทศ โดยหลักสูตรสนับสนุนค่าใช้จ่ายบางส่วน

    12.1  มาตรฐานผลการเรียนรู้การทำวิจัยในประเทศ ต่างประเทศ และการแลกเปลี่ยนนักศึกษา

             ความคาดหวังในผลการเรียนรู้การทำวิจัยในประเทศ ต่างประเทศ และการแลกเปลี่ยน

             1) บูรณาการความรู้ที่ศึกษาเพื่อนำไปพัฒนาโจทย์วิจัยและองค์ความรู้ทางด้านการบริหารได้อย่างเหมาะสม

             2) พัฒนาโจทย์วิจัยที่เน้นการพัฒนาองค์ความรู้ด้านการบริหาร 

   12.2  ช่วงเวลา  สามารถดำเนินกิจกรรมได้ตลอดปีการศึกษา

   12.3  การจัดเวลาและตารางสอน เน้นการจัดการเรียนการสอนแบบยืดหยุ่น (Flexible Learning Approach) ทั้งนี้

            ต้องได้รับการเห็นชอบจากอาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตร

 

13.ข้อกำหนดเกี่ยวกับการทำงานวิจัย

  • กำหนดให้ส่งโครงร่างดุษฎีนิพนธ์ภายในระยะเวลาที่กำหนดของหลักสูตรแต่ละแบบ
  • กำหนดให้มีการรายงานความก้าวหน้าของดุษฎีนิพนธ์ทุกภาคการศึกษาที่ลงทะเบียน ดุษฎีนิพนธ์
  • กำหนดระยะเวลาดำเนินงานวิจัยให้แล้วเสร็จภายใน 3 ปีการศึกษา ทั้งนี้ให้เป็นไปตามข้อบังคับของมหาวิทยาลัยแม่โจ้

   13.1 คำอธิบายโดยย่อ  จัดให้นักศึกษา ทำงานวิจัย ตามโจทย์ที่สนใจ ภายใต้การดูแลของอาจารย์ที่ปรึกษาดุษฎีนิพนธ์

           นำเสนอผลงานวิจัยในรูปแบบรายงานและวาจา โดยจัดให้มีการนำเสนอผลงานโดยอาจารย์สอบประเมินผลไม่ต่ำกว่า 3 คน

   13.2 มาตรฐานผลการเรียนรู้

  • มีองค์ความรู้จากการวิจัย
  • สามารถแก้ไขปัญหาโดยวิธีการวิจัย
  • สามารถใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการสืบค้นข้อมูล
  • สามารถใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์ในการวิเคราะห์ผลทางสถิติและคณิตศาสตร์
  • สามารถปรับตัวทำงานร่วมกับผู้อื่น
  • มีความสามารถในการสื่อสารด้วยภาษาเขียนและภาษาพูด
  • มีความสามารถในการนำเสนอผลการวิจัย
  • มีความสามารถในการเขียนบทความเพื่อตีพิมพ์

   

14. ค่าใช้จ่ายในการศึกษา  ค่าธรรมเนียมเหมาจ่าย เทอมละ 85,000 บาท จำนวน 6 เทอม (3 ปีการศึกษา)

                                    เทอมที่ 7 เป็นต้นไป จ่ายค่าธรรมเนียมเหมาจ่าย เทอมละ 20,000 บาท จนกว่าสำเร็จการศึกษา

15. คุณสมบัติของผู้เข้าศึกษา

หลักสูตรแบบ 1.1

  1. มีคุณสมบัติตามข้อบังคับของมหาวิทยาลัยแม่โจ้ ว่าด้วยการศึกษาระดับบัณฑิตศึกษาและระเบียบอื่นๆ ของมหาวิทยาลัยแม่โจ้ที่เกี่ยวข้องและบังคับใช้ในขณะนั้น หรือ
  2. สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาโทหรือเทียบเท่า สาขาวิชาสังคมศาสตร์ สังคมศาสตร์ประยุกต์ รัฐศาสตร์ รัฐประศาสนศาสตร์ นโยบายสาธารณะ การบริหาร การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ หรือสาขาวิชาอื่นๆ มีประสบการณ์การทำงานด้านการบริหารมาไม่น้อยกว่า 5 ปี และมีคุณสมบัติครบถ้วนตามข้อบังคับมหาวิทยาลัยแม่โจ้ ว่าด้วยการศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา
  3. จะต้องเป็นผู้สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรีหรือเทียบเท่าที่มีผลการเรียนดีมาก หรือปริญญาโทหรือเทียบเท่า และมีผลสอบภาษาอังกฤษได้ตามเกณฑ์ที่คณะกรรมการอุดมศึกษากำหนด
  4. จะต้องเป็นผู้ผ่านการทดสอบความรู้ภาษาอังกฤษ ตามเกณฑ์และเงื่อนไขที่กำหนดในประกาศของมหาวิทยาลัยแม่โจ้

 หลักสูตรแบบ 2.1

  1. มีคุณสมบัติตามข้อบังคับของมหาวิทยาลัยแม่โจ้ ว่าด้วยการศึกษาระดับบัณฑิตศึกษาและระเบียบอื่นๆ ของมหาวิทยาลัยแม่โจ้ที่เกี่ยวข้องและบังคับใช้ในขณะนั้น หรือ
  2. สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาโทหรือเทียบเท่า สาขาวิชาสังคมศาสตร์ สังคมศาสตร์ประยุกต์ รัฐศาสตร์ รัฐประศาสนศาสตร์ นโยบายสาธารณะ การบริหาร การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ หรือสาขาวิชาอื่นๆ และมีคุณสมบัติครบถ้วนตามข้อบังคับมหาวิทยาลัยแม่โจ้ว่าด้วยการศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา
  3. จะต้องเป็นผู้สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรีหรือเทียบเท่าที่มีผลการเรียนดีมาก หรือปริญญาโทหรือเทียบเท่า และมีผลสอบภาษาอังกฤษได้ตามเกณฑ์ที่คณะกรรมการอุดมศึกษากำหนด
  4. จะต้องเป็นผู้ผ่านการทดสอบความรู้ภาษาอังกฤษ ตามเกณฑ์และเงื่อนไขที่กำหนดในประกาศของมหาวิทยาลัยแม่โจ้

 ทั้งนี้หากผู้สมัครสำเร็จการศึกษาในสาขาวิชาที่เกี่ยวข้องแต่มิได้เป็นไปตามที่ได้ระบุไว้  ซึ่งเมื่อผ่านการสอบคัดเลือกเข้าศึกษาได้แล้ว อาจต้องศึกษารายวิชาเพิ่มเติมตามคำแนะนำของคณะกรรมการที่ปรึกษา ตามความเห็นชอบของอาจารย์ประจำหลักสูตร และหากไม่มีพื้นฐานทางด้านการบริหารอาจต้องศึกษารายวิชาเพิ่มเติมตามคำแนะนำของอาจารย์ประจำหลักสูตร 

16. เกณฑ์การสำเร็จการศึกษาตามหลักสูตร การสำเร็จการศึกษาให้ปฏิบัติตามประกาศของสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา และระเบียบ/ข้อบังคับของมหาวิทยาลัยที่ประกาศใช้ในขณะนั้น

หลักสูตร แบบ 1.1

  • สอบผ่านภาษาอังกฤษตามหลักเกณฑ์เงื่อนไขที่มหาวิทยาลัยกำหนด
  • สอบผ่านการสอบวัดคุณสมบัติ (Qualifying Examination)
  • สอบผ่านการสอบปากเปล่าขั้นสุดท้ายโดยคณะกรรมการที่มหาวิทยาลัยแต่งตั้ง ซึ่งจะต้องประกอบด้วย ผู้ทรงคุณวุฒิจากภายในและภายนอกมหาวิทยาลัย และต้องเป็นระบบเปิดให้ผู้สนใจเข้ารับฟังได้
  • ผลงานดุษฎีนิพนธ์หรือส่วนหนึ่งของดุษฎีนิพนธ์ต้องได้รับการตีพิมพ์ หรืออย่างน้อยได้รับการยอมรับให้ตีพิมพ์ในวารสารระดับชาติหรือนานาชาติที่มีคุณภาพตามประกาศคณะกรรมการการอุดมศึกษา เรื่อง หลักเกณฑ์การพิจารณาวารสารทางวิชาการสำหรับการเผยแพร่ผลงานทางวิชาการอย่างน้อย 2 เรื่อง

 หลักสูตร แบบ 2.1

  • ศึกษารายวิชาครบถ้วนตามที่กำหนดในหลักสูตร โดยจะต้องได้ระดับคะแนนเฉลี่ยไม่ต่ำกว่า 3.00 จากระบบ 4 ระดับคะแนนหรือเทียบเท่า
  • สอบผ่านภาษาอังกฤษตามหลักเกณฑ์เงื่อนไขที่มหาวิทยาลัยกำหนด
  • สอบผ่านการสอบวัดคุณสมบัติ (Qualifying Examination)
  • สอบผ่านการสอบปากเปล่าขั้นสุดท้ายโดยคณะกรรมการที่มหาวิทยาลัยแต่งตั้ง ซึ่งจะต้องประกอบด้วย ผู้ทรงคุณวุฒิจากภายในและภายนอกมหาวิทยาลัย และต้องเป็นระบบเปิดให้ผู้สนใจเข้ารับฟังได้
  • ผลงานดุษฎีนิพนธ์หรือส่วนหนึ่งของดุษฎีนิพนธ์ต้องได้รับการตีพิมพ์ หรืออย่างน้อยได้รับการยอมรับให้ตีพิมพ์ในวารสารระดับชาติหรือนานาชาติที่มีคุณภาพตามประกาศคณะกรรมการการอุดมศึกษา เรื่อง หลักเกณฑ์การพิจารณาวารสารทางวิชาการสำหรับการเผยแพร่ผลงานทางวิชาการ

ปรับปรุงข้อมูล 30/11/2564 17:40:19
, จำนวนการเข้าดู 974